วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างที่มีผลต่อการแปล



          โครงสร้างมีความสำคัญต่อสำหรับการเรียนรู้หรือการใช้ภาษา โครงสร้างทำให้เรานำคำมาเรียงกันเพื่อให้สื่อสารกันเข้าใจ ในการแปล คำศัพท์มีความสำคัญต่อการแปลแต่ไม่ได้สำคัญมากที่สุด เพราะต้องแปลโครงสร้างควบคู่ไปด้วย เช่นการแปลประโยค Passive อาจแปลเป็นประโยค Active

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) ในการเขียนจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดของคำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างประโยค จะต้องคำนึงด้วยว่าเวลานำไปใช้จริงชนิดของคำเกี่ยวพันกับประเภทของไวยากรณ์
ประเภทของไวยากรณ์ (grammatical category) คือลักษณะไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กับชนิดคำ ลักษณะของไวยากรณ์อาจสำคัญในภาษาหนึ่งแต่อาจไม่สำคัญกับอีกภาษาหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับไวยากรณ์ภาษาไทย
 1.1      คำนาม คำนามชี้เฉพาะเช่น บุรุษ กาล จะสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย
 1.1.1  บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่หมายถึง ผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย และผู้ที่ถูกพูดถึง เช่น I , you ,we , they แตไม่มีในภาษาไทย
 1.1.2   พจน์ (number) ในภาษาอังกฤษมีการกำหนดที่ต่างกัน เช่น a/an สำหรับนามเอกพจน์ เติม-s/-esสำหรับนามพหูพจน์
 1.1.3  การก (case) คือ บทบาทของคำนามในประโยค
 1.1.4  นามนับได้และนามนับไม่ได้ (countable and uncountable noun) ในภาษาอังกฤษมีการเติม a/an หรือ -s/-es  ในคำนามนับได้ แต่ในภาษาไทยมีลักษณะนามบอกจำนวน
 1.1.5  ความชี้เฉพาะ (definiteness) เป็นการแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะและนามไม่ชี้เฉพาะในภาษาอังกฤษ
 1.2       คำกริยา การใช้คำกริยาในภาษาอังกฤษมีความซับซ้อนกว่าคำนาม
 1.2.1 กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลตลอดเวลา
 1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) การดำเนินเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ หรือทำซ้ำๆ
 1.2.3 มาลา (mood) เช่น ประโยคเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งหรือการคาดคะเนที่เป็นไปไม่ได้ เป็นการเปลี่ยนรูปคำกริยา
 1.2.4 วาจก (voice) ประเภทของไวยากรณ์ที่สัมพันธ์ประธานกับการกระทำ
 1.2.5  กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ ( finite vs. non-finite) ในประโยคภาษาอังกฤษสามารถมีกริยาแท้ได้หนึ่งตัวเท่านั้น
 1.3     ชนิดของคำประเภทอื่น คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์ได้แก่คำบุพบท ( preposition) คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาเช่นกัน

 2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง ( construction) คือหน่วยทางภาษา เช่น การสร้างวลี อนุประโยค
 2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs.นาม (ไทย)
 2.2 หน่วยสร้างนามวลี :ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)
 2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก ( passive constructions)
 2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
 2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) ในภาษาไทยมีคำกริยาซ้อนกันในประโยคหลายคำ

 3. สรุปได้ว่าในการแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีลักษณะโครงสร้างที่ต่างกัน
 3.1 เรื่องชนิดคำ ภาษาหนึ่งมีแต่อีกภาษาไม่มี ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ได้แก่ ลักษณะนาม และคำลงท้าย
 3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
นามวลี-ภาษาอังกฤษมีรูปแบบบังคับ แต่ภาษาไทยจะมีหรือไม่มีก็ได้
การวางส่วนขยายในวลี-มีความตรงข้ามทั้งสองภาษา
การสร้างกรรมวาจก-ภาษอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแต่ภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง( subject vs. topic) ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ
หน่วยสร้างกริยาเรียง-มีในภาษาไทยไม่มีในภาษาอังกฤษ

::การตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้าง ทำให้งานแปลมีปัญหาน้อยที่สุดและมีความใกล้เคียงกับภาษาเป้าหมายมากที่สุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น