วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแปล


    ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง เนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน มีการนำเข้าวิทยาการใหม่ๆที่มีส่วนในการพัฒนาความความเจริญ งานแปลจึงมีความจำเป็นต่อผู้ไม่เข้าใจภาษาต่างประเทศ

การแปล หมายถึง การเอาบทความภาษาหนึ่งมาเขียนแทนด้วยภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นทักษะพิเศษ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยผู้แปลจะต้องมีความรู้และความสามารถทางด้านภาษา จะต้องแปลออกมาได้ถูกต้องและครบถ้วน ผู้แปลจึงต้องมีการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ

คุณสมบัติของผู้แปล
-รู้ภาษาอย่างดี มีศิลปะในการใช้ภาษา
-รักการอ่าน ค้นคว้า
-มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น
-อดทนและเสียสละ ในการใช้เวลาและความคิด การตรวจทาน
-มีความรับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
-สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพออกสู่สังคม
-สอนทักษะการอ่านและการเขียน และต้องฝึกอย่างเข้มข้น
-ต้องกระตุ้นผู้เรียนให้มีการอ่านอย่างกว้างขวาง เพื่อใหผู้เรียนมีประสบการณ์ สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
-ให้ผู้เรียนได้พบปะกับผู้แปลคนอื่นๆ

บทบาทของการแปล
     การแปลเปรียบเหมือตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้แปลในฐานะตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญ

คุณสมบัติของนักแปล
1.คุณสมบัติส่วนตัว มีใจรักในงานแปล รักการอ่าน การค้นคว้า ระมัดระวังในการใช้ภาษา มีความละเอียดรอบคอบ มีจรรยาบรรณของนักแปล และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
2.ความรู้ เข้าใจทั้งสองภาษาได้เป็นอย่างดี มีการค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลาและยังมีความรู้เกี่ยวกับพื้นหลังทางวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
3.ความสามารถ มีความเข้าใจในต้นฉบับเดิม นำมาถ่ายทอดได้ มีความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการ และมีการแบ่งขั้นตอนในการแปล
4.ประสบการณ์ มีการฝึกฝนอยู่เสมอ มีความรู้ในหลายสาขา หมั่นหาความรู้และศึกษางาแปลของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของตนเอง

ลักษณะงานแปลที่ดี

    ควรมีเนื้อหาที่ตรงตามต้นฉบับ รักษาความเป็นต้นฉบับครบถ้วน ใช้สำนวนหรือประโยคที่กระชับสละสลวยเข้าสมัยสังคมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การให้ความหมายในการแปล
การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1.การแปลจากประโยคต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน
2.การตีความจากบริบทต่างๆเช่น สิ่งของ รูปภาพ การกระทำหรือสถานการณ์
การแปลจากการใช้รูปแบบของกาล คือ ปัจจุบันกาล (Present Simple) และอนาคต (Present Progressive)

การแปลจากภาษาอังกฤษต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
1.อนาคตกาล การแปลจะต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล (ใช้คำว่า always หรือ often) กับอนาคตกาล (การใช้คำว่า now)
2.โครงสร้างต่างๆในประโยคจะต้องแปลระดับประโยคไม่ใช่ระดับคำ แปลตามความหมายไม่แปลตามไวยากรณ์
3.คำศัพท์เฉพาะต่างๆหรือคำศัพท์หลายคำแต่มีความหมายเดียวกันให้แปลเป็นคำเดียวที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุด
4.ตีคำนาย โดยการแปลคำเฉพาะเป็นความหมายทั่วไป

     การแปลและการตีความจากบริบท จะต้องมีความใกล้เคียงและความคิดรอบคอบ ไม่ใช่การแปลให้เป็นรูปแบบเดียวกับรูปประโยค แต่ให้ดูสถานภาพที่อยู่ในข้อความ

การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1.องค์ประกอบของความหมาย แต่ละภาษาจะต้องมีระบบที่จะแสดงความหมายคือ
-คำศัพท์ คำศัพท์แต่ละคำสื่อความหมายแต่สามารถความหายเมื่ออยู่ในบริบทต่างกัน
-ไวยากรณ์ คือแบบแผนในการจัดเรียงภาษา
-เสียง  ในภาษามีเสียงจำนวนมากที่ให้ความหมาย เมื่อเสียงนำมารวมกันทำให้เกิดคำ

ความหมายและรูปแบบ
1.ความหมายหนึ่งสามารถออกมาได้หลายรูปแบบ
2.รูปแบบเดียวอาจมีหลายความหมาย

ประเภทของความหมาย
1.ความหมายอ้างอิง (Referential meaning) หรือความหมายตรง คือการอ้างถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
2.ความหมายแปล (Connotative meaning) คือความรู้สึกอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ที่บางคำไม่สื่อถึงอารมณ์ได้ในอีกภาษาหนึ่ง
3.ความหมายตามบริบท (Contextual meaning) คำหนึ่งสามารถอธิบายได้หลายคำ จึงต้องดูบริบทของคำนั้นๆ
4.ความหมายเชิงอุปมา (Figurative meaning) บางครั้งมีการเปรียบเทียบที่ไม่ชดเจน ผู้แปลจำต้องค้นหาความรู้เพิ่มเติม

การเลือกบทแปล
     ในการเลือกบทแปลจะต้องเลือกให้มีความหลากหลายเพื่อตรวจสอบความสามารถในการแปลของตนเอง
           ควรเลือกหนังสือที่ได้รับการยอมรับในสาขาเหล่านั้น มีความทันสมัยตลอดจนการใช้ภาษา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น