วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

learning log outside classroom

การแปลบทความต่างๆจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยหรือการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษดูเหมือนเป็นเรื่องที่ง่ายหากเป็นการแปลเพื่อความเข้าใจของตนเองแต่ผู้แปลเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารแล้วจะต้องระมัดระวังการแปลหรือการติดต่อสื่อสารอย่างเข้าใจเพราะการแปลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนจึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษาซึ่งจะกล่าวถึงการแปลประโยคภาษาอังกฤษ
โครงสร้างของภาษาในโลกนี้แบ่งออกอย่างหยาบๆได้เป็น2แบบคือภาษาที่มีภาคประธานและภาคแสดง(subject-predicate) เป็นลักษณะเด่น และภาษาที่มีหลักตามความนำเสนอ(topic-comment)เป็นลักษณะเด่น เช่น แม่ตีลูก แม่เป็นภาคประธาน ตีลูกเป็นภาคแสดง ที่แบ่งเป็น กริยาคือ ตี กรรมคือลูก แต่ถ้าประโยค รองเท้านี้ฉันใส่ไม่ได้ เป็นลักษณะความนำเสนอ คือฉันใส่ไม่ได้ ทั้งสองประโยคขึ้นอยู่กับการใส่ใจของผู้พูด ซึ่งประโยคมีการแสดงขอบเขตชัดเจน
ความสัมพันธ์ของประธานและกริยาในประโยค (subject-verb agreement)โดยประโยคภาษาอังกฤษจะเห็นชัดเจว่าขึ้นต้นประโยคด้วยตัวใหญ่และจบด้วยจุดซึ่งต้องเข้าใจรูปประโยคและความสัมพันธ์ประธานและกริยาที่เป็นกริยาแท้ (finite verb) กริยามี2หน้าที่ในประโยค คือ สัมพันธ์กับพจน์ของประธานและบอกกาล ในหนึ่งclauseจะมีประธานและกริยาแท้อย่างละหนึ่งตัเท่านั้น นอกจากมีเครื่องสัมพันธ์ทางไวยากรณ์อื่น สังเกตได้จากกริยาแท้ที่สัมพันธ์กับพจน์ของประธานและบอกกาลของประโยคนั้น
กรรมวาจก(passive voice)ประโยคที่ประธานของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำซึ่งในภาษาไทยมีน้อย โครงสร้างภาษาไทยที่มีโครงสร้างเหมือนกรรมวาจกคือ ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยกรรม เช่น โต๊ะจัดเสร็จแล้ว และประโยคที่ใช้อนุภาค ถูก หรือโดน โดยมากเป็นประโยคเหล่านั้นมีความหมายไม่ดีแต่ถ้ามีความหมายในทางที่ดี จะแปลว่าได้รับแต่กริยาได้รับจะเปลี่ยนนามวลีแปลเป็นกรรตุวาจก (active voice)มีคำadjectiveเป็นคำแสดงความรู้สึก เช่น ผิดหวังหรือสนใจ แต่ถ้าคำที่เติม-ingซึ่งเวลาแปลจะใส่คำว่าหน้า
ประธานไร้ความหมาย(dummy subject)การละประธานในประโยคภาษาอังกฤษซึ่งในภาษาไทยบางครั้งจะมีกริยาที่ไม่มีประธาน เช่น มีนักเรียนมาก แต่ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษทุกประโยคต้องมีประธานยกเว้นประโยคคำสั่ง ต้องใสให้ประโยคสมบูรณ์เช่นthere were a lot of studentหรือ it rain in augustซึ่งประธานไม่มีความหมายแต่ต้องมี กริยาบางตัวใช้กับthere และitเช่น appear, seemเป็นต้นและสกรรมกริยา ได้แก่allow, say, be mean toเป็นต้น
กริยาวลี(participle)โครงสร้างในภาษาอังกฤษที่มีประธานต้องสัมพันธ์กับไวยากรณ์กริยาแท้แค่ตัวเดียวนอกจากนั้นเป็นคำเชื่อมอื่นๆ จะเป็นประธาน1และกริยา1หลักการของกริยาวลี(participle)ประธานของคือwho หรือ whichที่ถูกละไปพร้อมกับกริยาช่วยซึ่งสัมพันธ์กับrelative pronoun ซึ่งอาจเป็นverb to beส่วนคำลงท้าย-ingแปลว่าrelative pronounที่ละรูปเป็นผู้กระทำกริยานั้น
คำนามหลัก+คำขยาย(head noun+modifier)ในภาษาไทยจะมีลักษณะนามแต่อังกฤษไม่มีดังนั้นให้แปลกลับหลังมาเป็นคำหน้า เราจะพบคำขยายที่เรียงกันเป็นชุดๆและตามด้วยคำนามหลักในภาษาอังกฤษห้แปลคำนามหลักในภาษาอังกฤษให้แปลคำนามหลักที่ขวาสุดเสียก่อนแล้วค่อยมาแปลคำขยายคำนามหลักที่สุดเสียก่อนแล้วค่อยมาแปลคำขยายภายหลัง
การแปลความหมายจะเป็นไปตามที่เรามองเห็นโดยทั่วไปทำให้ผู้แปลจะต้องดูรายละเอียดและความรู้เบื้องต้นเช่นการแปลเพลงPompeiiโดยศิลปินbastilleโดยชื่อเพลงมาจากสถานที่จริงคือภูเขาไฟที่นำพาความหายนะมาสู่ประชาชนในรัศมีของภูเขาไฟไม่ทันตั้งตัวในเนื้อเพลงแสดงความโศกเศร้าจากเหตุการณ์สูญเสีย มีการเปรียบเทียบเช่นปัญหาต่างๆในชีวิตถึงแม้ว่าต้องพบกับความสูญเสียแต่เพียงแค่หลับตาทุกอย่างยังเป็นเหมือนเดิมในความคิดซึ่งจุดเน้นที่เนื้อเพลงต้องการสื่อคือoptimistคือการมองโลกในแง่ดี และมีประโยคที่ใช้passive voiceและประโยคเงื่อนไขเป็นองค์ประกอบของเนื้อเพลง

กล่าวคือแม้การแปลจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่ง่ายแต่ผู้แปลเป็นผู้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารจึงจะต้องใส่ใจรายละเอียดของสารโดยต้องศึกษาโครงสร้างความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษและต้องศึกษาข้อมูลพื้นหลังของเจ้าของภาษาอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น