วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

learning log outside classroom

การใช้สำนวนต่างๆในภาษาอังกฤษทำให้ผลงานเขียนมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้จะต้องศึกษาโครงสร้างรูปแบบการใช้งานต่างๆเพื่อความถูกต้องในการสร้างงานเขียนซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการใช้ could, do, และwith
Could เป็นกริยาช่วยที่มีหลักการใช้2อย่างคือ 1.บอกความสามารถในอดีต เช่น When I was teen, I could run 10 kilometres.สมัยวัยรุ่นผมสามารถวิ่งได้10กิโลเมตร(แสดงให้เห็นว่าตอนนี้ไม่ใช่วัยรุ่นแบะวิ่งไกลเช่นนั้นไม่ได้อีแล้ว)และอย่างที่2คือให้ขอร้องอย่างสุภาพซึ่งความหมายไม่มีความเกี่ยวข้องกับกาล เช่น Excuse me, could I light up here? ขอโทษนะครับผมขอสูบบุหรี่ที่นี่ได้ไหม ส่วนdoมีความหมายคือ ทำ เช่น do business (ทำธุรกิจ) do wrong (ทำความผิด)แต่บางครั้งก็ไม่ต้องแปลว่า ทำ เช่น do training(ฝึกอบรม)do painting(ทาสี) และ with คำบุพบทที่แปลว่าด้วย
Could do withเมื่อนำสามคำนี้มารวมจะไม่ได้หมาถึง สามารถทำด้วย และไม่สามารแปลว่าอะไรทั้งนั้น เพราะต้องดูบริบท จากประโยค It’s really hot. Could do with a nice cool drink.อากาศร้อนจริงๆผมCould do withอะไรเย็นๆสักแก้ว เราสามารถเดาความหมายได้ว่า ต้องการ โดยสำนวนนี้จะใช้ กับกริยาcouldเท่านั้น โดยจะใช้คำอื่นหมายถึงสามารถได้ เช่นcan
Could do withในสำนวนที่ผ่สนมาหมายถึงปัจจุบันกาลเท่านั้นแต่ถ้าเป็นอดีตจะต้องใช้ในรูปwantซึ่งหมายถึงต้องการ จะเป็นwanted เช่น yesterday was really hot. I wanted a cool drinkเมื่อวานนี้ร้อนจริงๆฉันอยากได้อะไรเย็นๆสักแก้ว
อุปสรรคที่เป็นปัญหาที่ทำให้การพูดภาษาอังกฤษล้มเหลวสิ่งนั้นมี5ประการคือ เพ่งทุกคำโดยคิดว่าต้องแปลทุกตัว ต้องจำขึ้นใจ เว้นคำไหนไม่ได้แปลเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที จำทุกตอนหรือบันทึกทุกคำศัพท์จับทุกประโยคท่องจำอย่างเดียวไม่สามารถตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติได้ เน้นไวยากรณ์ไปทุกเรื่อง กลัวใช้ผิดกาลผิดfunction ต้องเปลี่ยนรูปของกริยาทำให้พูดไม่ทันใจ ไม่เข้าใจในสำเนียงของภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาเก็บเสียงไว้ที่ลำคอ อาจพูดได้ว่าสำเนียงส่อภาษาต่อให้เข้าใจแต่ก็ไม่สามารถทำได้และสิ่งสุดท้ายคือการเปิดแต่พจนานุกรมเพราะไม่รู้คำศัพท์ ไม่ใช้การtrick หรือการเดา
สิ่งที่สามารถทำให้เราแก้ปัญหาการพูดภาษาอังกฤษล้มเหลวคือpractice guessing skill in English เป็นการต่อจิ๊กซอว์ภาพและการฟัง การฝึกเดาให้เป็นเสียก่อน เมื่อฝึกเดาทำให้การใช้ภาษาอังกฤษล้มเหลวไปได้ แต่การเปิดพจนานุกรมไม่ใช่เป็นข้อเสียแต่ควรมีการเดาความหมายก่อนที่จะเปิดดูความหมาย จะใช้พจนานุกรมเพื่อการพูดออกเสียง สามารถพกพาได้สะดวก มีอภิธานศัพท์บอกหน้าที่ครบถ้วน เช่น นาม กริยา กรรม บุพบท กริยาวิเศษณ์ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเรียนรู้การสร้างประโยคด้วย

ดังนั้นการใช้สำนวนต่างๆเพื่อในการเขียนมีการพลิกแพลงมากขึ้น เช่นประโยค cold do withแต่ไม่ได้แปลอย่างที่มองเห็นเสมอไป และอุปสรรค์ในการพูดภาษาอังกฤษคือการไม่เปิดใจหรือเรียนรู้อย่างผิดๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น